บทความ : เทคนิคการตัดปลีกล้วย สไตล์สวนโชควิเชียร

      ปิดความเห็น บน บทความ : เทคนิคการตัดปลีกล้วย สไตล์สวนโชควิเชียร
Video : เทคนิคการตัดปลีกล้วย สไตล์สวนโชควิเชียร

หลายคนคิดว่าการตัดปลีกล้วย จะต้องมีเทคนิคด้วยหรือ จริง ๆ แล้วอาจจะไม่ใช่เทคนิคอะไรเป็นพิเศษ แต่เป็นประสบการณ์ของลุงวิเชียร ที่ได้มาจากการทำสวนกล้วยน้ำว้าโชควิเชียร และมั่นใส่ใจในการสังเกตุ จนทำให้รู้ว่าควรจะทำอย่างไรเมื่อถึงเวลาตัดปลีกล้วย และก็มีเรื่องควรรู้อะไรบ้างในระหว่างการตัดปลีกล้วย จนเป็นความรู้ที่สามารถนำมาถ่ายทอดหรือบอกกล่าวให้ฟังได้มากกว่า

Image5

หลังจากที่กล้วยเริ่มแทงปลีออกมาแล้ว ก็จะใช้เวลาประมาณ 30 วัน ก็่จะสามารถเริ่มตัดปลีออกจากเครือได้ โดยให้เราสังเกตุว่าเมื่อปลีกล้วยบานจนสุดแล้ว หรือให้สังเกตุดูว่าหวีกล้วยจะไม่สามารถสร้างเป็นหวีได้แล้ว คือลูกกล้วยจะมีลักษณะรีบ ก็นับลงไปประุมาณ 1 คืบ แล้วค่อยตัดปลีออกจากเครือ ซึ่งปลีกล้วยที่ตัดออกสามารถนำไปจำหน่ายได้ หรือนำไปประกอบอาหารได้อีกด้วย  การนับอายุตั้งแต่แทงปลีกล้วยจนเก็บเกี่ยวพอสังเขปมีดังนี้

  • หลังจากที่เราสังเกตุเห็นกล้วยแทงปลีแล้วนับไปประมาณ 30 วัน ให้สังเกตุดูว่าปลีกล้วยบานจนสุดแล้วหรือยัง ก็สามารถตัดปลีออกจากเครือได้  (1 เดือน)
  • หลังจากตัดปลีออกจากเครือแล้วก็นับต่อไปอีก 90 วัน ก็สามารถตัดเครือกล้วยไปจำหน่ายได้ ให้สังเกตุดูที่ผลของกล้วยว่าเหลี่ยมที่ผลหายแล้วหรือยัง ผลของกล้วยจะมีลักษณะกลม (3 เดือน)

เหตุผลที่ควรตัดปลีกล้วยห่างจากลูกกล้วย ประมาณ 1 คืบ

  • การตัดปลีกล้วยชิดลูกกล้วยเกินไป อาจก่อเกิดรูที่ปลายเครือกล้วยทำให้มดหรือแมลงไปสร้างรังซึ่งจะเป็นปัญหาต่อมาในอนาคตได้
  • ถ้าตัดชิดกับลูกกล้วยเกินไป อาจก่อเกิดรูกลวงที่ปลายเครือ และขยายเป็นวงกว้างทำให้ลูกกล้วยไม่เจริญเติบโตและเสียหายได้
  • เวลาตัดเครือกล้วย จะสะดวกต่อการจับและการตัดเครือกล้วย

ศัตรูตัวฉกาจของกล้วยและวิธีกำจัด

หลังจากที่ตัดปลีกล้วยไปแล้วให้มั่นตรวจสอบว่ามีสัตว์ไปทำรังหรือไม่ ถ้ามีควรกำจัด ในระหว่างที่กล้วยออกเครือแล้ว ศัตรูตัวฉกาจของกล้วยคือเพลี้ยแป้ง หากเราสังเกตุเห็น ไม่ว่าจะอยู่ก่อนตัดหรือหลังตัดปลีกล้วยต้องรีบกำจัด ซึ่งแนวทางกำจัดมีอยู่ 2 วิธี

  • ชีวภาพ

ให้ใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคกับแมลงจำพวกเพลี้ยต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี และปลอดภัยต่อผู้ใช้ วิธีการใช้ ให้ฉีด 1 ครั้ง และเว้นอีก 2 อาทิตย์ ฉีดซ้ำอีกที แล้วสังเกตุดูเพลี้ยตายหมดหรือไม่ ถ้ายังมีหลงเหลืออยู่ให้ฉีดซ้ำจนกว่าจะหมด

  • เคมี

ให้ใช้ไธอะมีโทแซม ไม่ว่าจะยี่ห้อไหนก็ได้ ซึ่งจะสามารถกำจัดแมลงชนิดปากดูด รวมถึงเพลี้ยต่าง ๆ ซึ่งควรอ่านคู่มือก่อนใช้  การใช้ยาฆ่าแมลงที่เป็นสารพิษชนิดต่าง ๆ ที่มีผลกับผู้ใช้ ควรป้องกันโดยหาหน้ากากหรือผ้าปิดหน้า ปิดจมูก เสื้อแขนยาว สวมใส่ให้มิดชิด เพื่อป้องกันสารเคมี หากเกิดอาการแพ้ควรพบแพทย์โดยทันที

ที่สวนโชควิเชียรเราใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียในการกำจัดเพลี้ย อาจจะใช้บ่อยแต่ดีต่อสุขภาพของผู้ใช้ และไม่ก่อเกิดอันตราย เชื้อราบิวเวอร์เรียเดียวนี้หาซื้อได้ง่ายมากกว่าเมื่อก่อน และมีราคาไม่สูงมากเหมือนเมื่อก่อน ซึ่งใช้ได้ผลดี แต่อาจไม่เห็นผลเลยเหมือนเคมี

ข้อควรระวังเวลาตัดปลีกล้วยออกจากเครือ

  • เวลาตัดไม่ควรอยู่ใต้เครือกล้วย ควรมีระยะห่างที่พอสมควร เพื่อป้องกันน้ำยางกระเด็นเข้าตา และปลีกล้วยตกใส่หัว
  • วัสดุที่ตัดควรมีความคมพอสมควร จะได้ไม่เกิดรอยช้ำที่เครือกล้วยมาก
Print Friendly, PDF & Email